ดวงดาวและอวกาศ

ดวงดาวและอวกาศ

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แสดงความคิดเห็น

ผมคิดว่าการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นเป็นการใช้ที่ไม่ถูกวิธี ไม่ถูกที่ถูกเวลา แต่ว่าการใช้โทรศัพท์มือถือมันเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคล ถ้าเราใช้โทรศัพท์เป็นเรื่องงานหรือเรื่องที่มีสาระก้อจะเป็นผลทีดี แต่ถ้าเราใช้โทรศัพท์ในทางที่ผิด มันอาจก้อให้เกิดผลเสียของบุคคลบางคนได้ แต่ปัจจุบันสามารถมีใช้เป็นของตัวเองได้ วัยรุ่นเป็นวัยที่มีเวลาว่างมากจึงใช้เวลานี้อยู่กับโทรศัพท์จนน่าตกใจ
นายธนวิชญ์ มีพร้อม ปวส.1/2 ไฟฟ้า เลขที่ 5

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที 7

การใช้สารานุกรม



1 พิจารณาเรื่องที่ต้องการค้นว่าเป็นความรู้ประเภทใด เช่น ความรู้ทั่วไปหรือความรู้เฉพาะวิชา
2 เลือกใช้ประเภทสารานุกรมให้สอดคล้องกับประเภทของเรื่องที่ต้องการค้น เช่น สารานุกรมทั่วไปหรือสารานุกรมเฉพาะสาขาวิชา
3 อ่านคำแนะนำการใช้สารานุกรมนั้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนต้นของเล่ม
4 ใช้เครื่องมือช่วยค้นเพื่อหาหัวข้อเรื่องที่ต้องการ เช่น ดรรชนี อักษรกำกับเล่มและกำกับหน้า

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หัวข้อโปรเจก

การเมืองใหม่

ส่ง E-book

http://www.thaiebook.org/


http://www.ebook.com/ebooks/Computer/iPhone_4_Portable_Genius


http://www.macalester.edu/geography/mage/curriculum/lessons/extreme_sports.pdf


http://www.onecaribbean.org/content/files/ExtremeSportCaribbeanNicheMarkets.pdf

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

"ประโยชน์ของสารานุกรม"

1. ใช้เป็นแหล่งข้อมูลค้นหาคำตอบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงได้ทุก ๆ แขนงวิชา
2. ข้อเท็จจริงในหนังสือสารานุกรมเชื่อถือได้ เพราะเป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ
3. ใช้เป็นแหล่งศึกษาพื้นฐานความรู้ในเชิงประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ
4. ได้ความรู้ที่ทันสมัยเพราะมีการปรับปรุงเนื้อหาทุก ๆ ปี
5. ผู้ใช้สามารถค้นหาคำตอบได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะมีเครื่องมือช่วยค้น คือดรรชนี (Index)
6. ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพราะมีการจัดเรียงลำดับเนื้อเรื่องอย่างมีระเบียบ
7. ใช้เป็นคู่มือของบรรณารักษ์ในการบริการตอบคำถามได้เป็นอย่างดี

ข่าวสัปดาห์ที่ 5

ความหมายของคำ "สารานุกรม"

"สารานุกรม" เป็นหนังสือรวมเรื่องราวต่างๆคำนี้ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ "สาร" และ "อนุกรม" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๒๕ ให้นิยามของคำ "สาร" ว่า แก่นเนื้อแท้ ส่วนสำคัญ ข้อใหญ่ใจความ ถ้อยคำคำว่า "อนุกรม" หมายถึง ลำดับ ระเบียบ ชั้นสองคำนี้รวมกันเข้าโดยวิธีสมาสเป็นคำเดียวคือ "สารานุกรม" หมายถึงเรื่องราวที่เป็นเนื้อแท้เป็นแก่นสารนำมาเรียบเรียงโดยใช้ถ้อยคำ จัดระเบียบเรื่องแต่ละเรื่องตามลำดับให้อยู่ด้วยกันในหนังสือเล่มเดียวกัน หรือหลายเล่มแต่เป็นชุดเดียวกันคำนี้ใช้เรียกชื่อหนังสืออ้างอิง หรือหนังสืออุเทศประเภทหนึ่ง ลักษณะทั่วไปของหนังสือนี้ คือ อธิบายเรื่องราวต่างๆ ที่มนุษย์ได้เรียนรู้ และได้คิดขึ้นตั้งแต่โบราณสมัยจนถึงปัจจุบัน มีทั้งความรู้ที่จัดเป็นวิชาหรือเป็นศาสตร์ และความรู้ทั่วๆ ไปที่ควรรู้หรือน่ารู้ ผู้จัดทำสารานุกรม จะจัดหมวดหมู่ และลำดับความสำคัญของคำอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ เรียงลำดับอยู่ในเล่มเดียวกันหรือชุดเดียวกันตามลำดับความสำคัญของแต่ละวิชาบ้าง ตามลำดับความสัมพันธ์ของแต่ละวิชา และสาขาวิชาในกลุ่มวิชานั้นๆ บ้างตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของคำซึ่งใช้เรียกชื่อวิชาหรือเรื่องราวนั้นๆ บ้าง
หนังสือสารานุกรมเป็นหนังสือซึ่งผู้มีความรู้รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือซึ่งเชื่อถือได้ แม้ว่าสารานุกรมบางเล่มจะมีข้อผิดพลาด หรือล้าสมัยเพราะไม่มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆ ให้ทันกาลเวลา และความก้าวหน้าทางวิชาการผู้จัดทำหรือผู้รวบรวมสารานุกรมจะเลือกสรรเรื่องราวที่ผู้มีความรู้เชื่อถือได้เป็นผู้เขียน มีหลักฐานของการค้นคว้า นำไปอ้างอิงได้ มีวิธีเรียบเรียงซึ่งทำให้สามารถค้นเรื่องราวที่ต้องการรู้ได้อย่างรวดเร็ว เช่น มีดัชนีค้นเรื่องอยู่ท้ายเล่ม หรือในเล่มสุดท้ายของชุด มีการเรียงเรื่องตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของคำที่เรียกเรื่องราวนั้นๆ เป็นต้น
การจัดทำหนังสือรวมวิชาความรู้ในสมัยโบราณนั้น เท่าที่ทราบและมีหลักฐานปรากฏว่านักการศึกษาชาวโรมันชื่อ พลินี (Pliny) ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๕๖๖-๖๒๒ เป็นผู้จัดทำขึ้นเขาเรียกหนังสือของเขาว่า ประวัติธรรมชาติ (Natural History) เป็นหนังสือชุด มี ๓๗ เล่ม ๒,๔๙๓ บท และมีเรื่องราว ๒๐,๐๐๐ เรื่อง รวมเรื่องดาราศาสตร์ โลหวิทยา ภูมิศาสตร์ สัตวศาสตร์แพทยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ประดิษฐกรรม ศิลปกรรม พืชกรรม เวทมนตร์คาถา ฯลฯ เรื่องเหล่านี้เขาไม่ได้แต่งเอง หากรวบรวมจากหนังสือต่างๆ ที่ผู้รู้หลายร้อยคนเขียนไว้แล้ว พลินีกล่าวไว้ในคำนำของหนังสือชุดนี้ว่า เรื่องของเขามีเรื่องราวทุกเรื่องทุกวิชาที่อยู่ในวงจรการศึกษา ซึ่งชาวกรีกเรียกหนังสือที่รวมวิชาเหล่านี้ว่า เอนไซโคลปีเดีย (Encyclopaedia)

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

การจัดกลุ่มแบ่งประเภทของสารานุกรม

สารานุกรมสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทหลายรูปแบบ ซึ่งข้อมูลจากสารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย [wikipedia.net] ให้หลัก
การแบ่งประเภทของสารานุกรม ออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่

(ก) แบ่งตามผู้แต่งหรือเรียบเรียงเนื้อหา
(ข) แบ่งตามความเจาะจงของเนื้อหา
(ค) แบ่งตามการเรียงลำดับของเนื้อหา
(ง) แบ่งตามรูปแบบในการนำเสนอ

จากข้อมูลการสำรวจ ประเภทของสารานุกรมดังกล่าวและจากข้อมูลประกอบอื่นๆ โครงการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคม
ไทยจึงแบ่งประเภทของสารานุกรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อการจัดทำและการบริหารโครงการฯ ออกเป็นสองประเภทตาม
ลักษณะของการจัดทำ คือ สารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญและสารานุกรมเสรี โดยสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ มีเนื้อหามาจากการ
เขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคุณภาพและการยอมรับจากผู้ใช้งาน ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญหรือ
สำนักพิมพ์ เช่น สารานุกรมบริเตนนิกา (Britannica) ของประเทศสกอตแลนด์ เป็นต้น
ส่วนสารานุกรมเสรีมีเนื้อหามาจากบุคคลทั่วไปหลากหลายอาชีพสามารถแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาได้ทันทีผ่านทาง
เว็บไซต์ เน้นหลักการมีส่วนร่วมของผู้ใช้หรือบุคคลในวงกว้าง ดังนั้น เนื้อหาสารานุกรมเสรี จึงมีความหลากหลายของข้อมูล
และมีปัจจัยทางด้านลิขสิทธิ์ ที่ผู้อ่านสามารถนำเนื้อหาหรือซอฟต์แวร์ ไปใช้งานได้ภายใต้ข้อกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น
สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย (Wikipedia) ดังนั้นทางโครงการฯจึงนำข้อเด่นของสารานุกรมทั้งสองประเภทมาประกอบใช้ร่วมกันโดย
แสดงลักษณะการจัดทำสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ และสารานุกรมเสรี